Skip to content
March 27, 2014 / ougnt

[บันทึกข้อผิดพลาด] พลาดกับการไม่เชื่อแผน แต่ เชื่อ ความโลภ

เกิดเมื่อ

เกิดขึ้น ซักอาทิตย์ที่แล้ว ตอนกำลัง Open short USD Future

เหตแห่งความวิบัติ

วันนั้น มองดูกราฟ แล้วเห็นได้ชัดว่า เกิดสัญญาณ Bullish divergence ก็เลย ปิดสัญญา ไปครึ่งนึง (ตามแผนที่วางไว้ก่อน open position)

แต่แล้วไม่รู้ว่าผีห่าซาตานตนใดมาดลใจ USD Future มันร่วงต่อ ในใจเกิดความเสียดาย ปนโลภ

สิ่งที่ทำผิดพลาด

ไล่เปิดคืน ที่ ปิดไปทั้งหมด

ผลลัพท์

กำไรที่ได้มาจากการ trade รอบนี้ หายไปเกือบหมด เพราะหลังจากวันนั้น USD แข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว (ตามที่กราฟบอก)

May 2, 2012 / ougnt

ตั้งจุด cut loss ด้วยสัดส่วน กำไร ขาดทุน

เคยหรือไม่ ที่ รู้ทั้งรู้ว่าต้อง cut loss แล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าต้องตั้งจุด ไว้ที่ไหน

หรือเคยหรือไม่ที่ท่าน รู้สึกว่า การ cut loss เป็นเรื่อง ที่ไม่ถูกต้อง วันนี้ ท่าน ลอง มาอ่านสิ่งนี้ดู แล้วจะรู้ว่า การ cut loss เป็นสิ่งที่ควรทำนะ

สำหรับคนที่ัไม่เข้าใจเรื่อง ความน่าจะเป็น (probability) ลองอ่าน http://en.wikipedia.org/wiki/Probability ดูครับ ไม่ยาก และไม่นาน (ความรู้ คณิตศาสตร์ ม. ต้น)

ลองให้ P เป็น ความน่าจะเป็นที่หุ้นที่เรา เลือกซื้อ ซื้อแล้วราคาขึ้น (ซื้อแล้วกำไร)

ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่ ซื้อหุ้นแล้วขาดทุน คือ 1-P

ให้ E คือ ผล กำไร เฉลี่ย ในแต่ละครั้งที่กำไร

ให้ L คือ ผลขาดทุน เฉลี่ย ในแต่ละตรั้งที่ขาดทุน

ดังนั้น สมการกำไร โดยรวม คือ

กำไรโดยรวม = P(E) – (1-P)L

แน่นอน เราอยากให้กำไร ของเรา เป็น + หรือมากกว่า 0 ดังนั้น

P(E) – (1-P)L  > 0 …………………………………………………. (1)

สมมุติ ว่าเราสามารถ ควบคุม P ให้เป็น สามเท่า ของ L ………. P = 3L

แทนค่าลงไปใน (1) จะได้งว่า

P(3L) – (1-P)L > 0

3PL – L + PL > 0

4PL – L > 0

4P – 1 > 0

P > 0.25

หรือแปลว่าเรามีความแม่นยำในการ เลือกซื้อหุ้น แค่ 25% ก็ เพียง พอ

หลายๆคนคงเกิดคำถามว่า แล้วจะทำให้ P = 3L ยังไง

มาดูกรณี นี้กัน

 

หุ้น BIG D ราคา 100 บาท

เราวิเคราะห์ ว่า เราคาน่าจะเป็น 130 ( ไม่ว่าจะด้วยวิธีทางพื่นฐาน หรือ กราฟ ก็ตาม หรือมั่ว ก็ได้)

ดังนั้น E ของเราคือ 30 ใช่ป่ะคับ

ดังนั้นจากสมการ E = 3L

ดังนั้น L = 10

เราจะตั้งจุด cut loss ที่ 100 -10 = 90

 

ด้วยวิธีนี้ เหลือคำถามเดียว คุณจะทำให้ โอกาส การเลือกหุ้น แล้ว ไม่ขาดทุน ได้มากกว่า 25% มั้ย

หรือว่ามันยากไป อิอิ

April 23, 2012 / ougnt

Setting cut loss position using Profit/Loss ratio.

Let P = a probability that a trading gain profits.
So the probability that  the trading loss is 1 – P.

Let E =an average capital gain
and L = an average capital loss

The overall profit  ( OP ) = ( P x E ) – ( ( 1 – P )  x L )      ………(0)

Now the overall profit equation is deal with three variable.

If OP > 0   ===>   we can survive in the cruel market.  ………. (1)
If OP <= 0    ====>  It is a time to adjust our trading decision. ….(2)

It sure that we need to stay survive in the market so we focus on (1)

OP > 0 
or
( PE ) – ( ( 1 – P )L ) > 0     …….. from (0)

Assume that we can control that E = 3L
or
average profit is equal to three time the average loss

so

3PL – L + PL > 0
4PL – L > 0
4P – 1 > 0   *
4P > 1
P > 1/4  …………….(4)

From (4), we can see that if we can control the average gain to three time of the average lost, the probability that we buy a right stock = 0.25 is enough to be survive in the market.

Now, the new question is how to control the average gain/lost.

Let’s see.
If a stock A’s price is 100
We expect that the price should be 130 ( from fundamental or technical or whatever )
So the maximum profit = 30
Then we set the cut lost point to 10 point ( E = 3L )
The cut lost point is 100 – 10 = 90

The last thing to do is make our probability to buy a right stock to be more than 25%. Is it so hard?

* because L is always a positive number so we divide  both side of the inequality equality

November 16, 2011 / ougnt

ลองระบบเทรด

ลองระบบเทรด

วันนี้ test ระบบเทรดหุ้น กับหุ้น PTTEP สัญญาละ ๑ หุ้น ไม่คิดค่าคอม อ้างอิงข้อมูลราคาย้อนหลัง ๑ ปี ระบบนี้ มีทั้ง short / long

โดยมี Criteria ดังนี้

เปิดสัญญา
– เมื่อ เด้งออกมาจาก SMA15 มา 2% หลังจากไปแตะเส้น
– เมื่อ เป็นวันที่สองหลังจากราคาทะลุ SMA15 แล้ว ยังคง ทิศทางเดิม

ปิดสัญญา
– เมื่อ กำไร 5% โดยปิดทันที แต่ถ้าราคาเปิดตลาด เกินกว่า 5% จะปิดที่ราคาเปิดตลาด
– เมื่อ ขาดทุน 2% โดยปิดทันที แต่ถ้าราคาเปิดตลาด เกินกว่า 2% จะปิดที่ราคาเปิดตลาด

ได้ผลดังนี้
Trade per Year : 50
Maximum Draw Down : -5.5
Profit : 50
และเมื่อเอากำไรมาพลอทกราฟ จะได้ดั่งรูป

* ผลการทดลอง เป็นการกระทำกับข้อมูลในอดีต ไม่ได้เป็นสิ่งการันตี อนาคต

March 15, 2011 / ougnt

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 4 (S)

โอ้ มาครึ่งทางแล้ว ตัวที่4 ของหลักสูตร ผอมได้
S Supply and Demand : big volumn demand at key points

ขึ้นชื่อว่าของซื้อของขาย ก็ต้องเข้ากฎ supply & demand นี่แหละ … เอ้า ดูตัวอย่างดีกว่า ทั้งโลก มีโรงงาน เดียวที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ ก. ได้   และคนทุกคนก็ต้องใช้ ก. กันทุกคน
และทุกวัน และแล้ววันนึงเครื่องจักร โรงงานนี้ แม่งเสีย กำลังการผลิต เหลือครึ่งเดียว คนก็คงแย่งกันซื้อ ก. กันถ้วนหน้า (ถ้าจินไม่ออกลองคิดถึงตอนที่น้ำมันพืช ขาดตลาดในช่วงที่ผ่านมา) เมื่อซื้อกันไม่ได้ ก็จะมีคนยอมซื้ิอแพง ประมาณว่า จ่ายเพิ่มสองเท่ากรู ก็ซื้อ ราคา ก. ก็ขึ้นสิพี่น้อง อันนี้เรียกว่าภาวะ ขาด supply

แต่ถ้ามีโรงงานทำ ก. เพิ่มอีก 20 โรงงานหละ แต่คนซื้ิอ เท่าเดิม แบบนี้ ก็ลดแข่งกันหนะสิ ขายถูกดีกว่าขายไม่ออกอยู่แล้ว อีนนี้ over supply

แล้วถ้ามีคนพบว่า เอา ก. ไปผลิต ข. ได้เหมือนกัน แล้วซื้ิ ก. แบบ เหมาเลย อันนี้ demand เพิ่ม ก็แม่ง ขึ้นราคา ก. ตามสูตร

สุดท้ายถ้า มีการค้นพบว่า ใช้ ก. มากๆเป็นมะเร็ง คนก็จะเลิกใช้ ก. และราคาก็ร่วง อันนี้ demand ลด

กับหุ้นก็เหมือนกัน ความสัมพันธ์ ประมาณนี้

คนอยากซื้อน้อย คนอยากขายเยอะ – อันนี้ราคาก็ตกน่อ

คนอยากซื้อน้อย คนอยากขายน้อย – อันนี้เงียบ แปลว่าตัวนี้นิ่ง volumn น้อย

คนอยากซื้อเยอะ คนอยากขายเยอะ – อันนี้คงเทรดกันสนั่น มันกันน่าดู ลุ้นกันสุดตัว แต่ปิด เท่าเมื่อวาน -*- แปลว่าเริ่มมีคนไม่เห็นพ้องกันเยอะ เมื่อความเห็นไม้พ้องกัน พนัน เอ้ย การซื้อขายจึงเกิด

คนอยากซื้อเยอะ คนอยากขายน้อย –
ไอ้นี่หละ ของดีเลย ราคาพุ่งๆๆๆๆๆ

เออแล้วถ้าหุ้นตัวไหน ซื้อหุ้นตัวเองคืนในตลาดนะเธอว์ จะเทพอย่างแรง ปริมาณ(supply) ก็ลดลง เพราะหุ้นในตลาดเหลือน้อยลง แล้วถ้าหุ้นตัวนี้เป็นที่ต้องการจาก ชาวบ้านด้วยนะ มึงเอ้ย … (คิดคำบรรยายไม่ออก)

แต่ถ้าหุ้นตัวไหน เจ้าของเอาหุ้นตัวเองมาขายในตลาดนี่หละ(supply เพิ่ม) … หาคำด่าคำโวยวายให้ดีแล้วกัน ถ้าถืออยู่นะ

-ougnt-

March 5, 2011 / ougnt

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 3 (N)

ตัว C กับตัว A เน้นแต่เรื่องกำไรจ๊างงงงง อย่าเพิ่งเบื่อ นะเคอะ ตัวนี้เลิก พูดถึงกำไรแล้ว ตัว N

ตัว N ใน CANSLIM นี่ย่อมาจาก Newer companies, New products, New management, New high off properly formed Bases … เยอะจังฮู้ … ลองดูครับพี่น้อง มันมีแต่ อะไรใหม่ๆ … อ๊ะแน่นอน หุ้นมันจะมี ราคาก้าวกระโดดได้ไง ถ้าไม่มีอะไรใหม่ มากระตุ้นเลย มันจะเด้งรึ หุ้นนะไม่ใช่ไพ่ ที่เล่นเดิมๆก็เด้งได้ … ค๊าบ เข้าเรื่องก็ได้

ที่จะสื่อในบทนี้คือ หุ้นเทพต้องการ event ใหม่ๆ เช่น ผู้บริหารชุดใหม่ … เอ้า! ไม่ได้ว่าชุดใหม่ที่เข้ามาจะเก่งหมดทุกคนนะ แต่่่การเปลี่ยน ผู้บริหาร ก็แน่นอนว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลง ได้ มีความน่าจะเป็น ได้สามอย่าง ดีขึ้น/แย่ลง/เหมือนเดิม … นั่นไง เห็นป่ะ มีโอกาสดีขึ้นด้วย เหตผลนี้ ใช้ได้กับสินค้าหรือบริการใหม่ได้เช่นกัน … ลองคิดดูนะ หุ้น ก. ทำสินค้า อย่างเดียว คือ สินค้า A . ไม่ว่่าสินค้า A จะขายดีหรือไม่ก็ตาม แต่ราคาตลาด ก็ ให้ ราคาสินค้า A ไปแล้วอาจจะมีบางช่วง สินค้า A ขายดี บ้าง แต่ก็คงไม่สร้างกำไรเพิ่มขนาดที่ เพิ่มขึ้นถล่ม ทลาย หรอก แต่ถ้าวันนึง มี สินค้าใหม่ สินค้า B แล้วมันขายได้ขายดี ระเบิดระเบ้อ … มึงเอ้ย! ลองคิดดู ถ้ากำลังผลิต เท่่าเดิมแต่อยู่ดีๆ ขายดี ขึ้นมากมาย สินค้า B มีขายที่เดียว คือ บริษัท ลูกของ หุ้น ก. โอ้ย แค่คิดก็ น้ำลายหกแล้ว … แต่ … ต้องลองดูดีๆนะ ว่าของใหม่ดีป่าว ถ้าของใหม่กากเนี่ย ก็เขวี้ยงทิ้งได้เลย เจ๊ง กับเจ๊งครับ พี่น้อง

อ่าวแล้ว new high หละ เกี่ยวอะไร(วะ) … เอ๋าว์ (ออกเสียงเหมือน เธอว์) หุ้นทำ new high ก็ต้องแปลว่ามีอะไรซักอย่าง หรือใครซักคน ซื้อมันนั่นหละ ลองคิดดูนะ

เดือนแรก หุ้น ก. ราคา 7 บาท
เดือนที่สอง ราคา พุ่งไป 13 บาท
เดือนที่สาม ราคาไปต่อ 14 บาท
เดือนที่สี่ ราคากระเตื้องขึ้นมา 18 บาท

ถึงจุดนี้ โบรค , เวปบอร์ด หรือคนทั่วไปก็จะบอกว่า “แม่งหุ้นปั่น” แต่
ลองคิดดูดีๆ อะ-ไร-ที่-ทำ-ให้-คน-ที่-ซื้อ-หุ้น-ตัว-นี้-ซื้ิอ ไล่ราคามาจนถึงตรงนี้ (ขี้เกียจเขียนทีละพยางค์ละ -*-) มันต้องมีอะไรดีหละ หรือว่าอยากได้ หุ้นที่ ทำแต่ new low (ไม่แนะนำ) … อันนี้ก็ลองเอาไปคิดดู แยกให้ออกระหว่าง หุ้นเทพ กับหุ้น กากปั่น

สุดท้ายฝากไว้หน่อย ถ้า หุ้นไม่ทำ new high แล้วเมื่อไหร่ มันจะได้สองเด้งวะ (อย่าตอบว่าเล่นไพ่นะ)

-ougnt-

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 2 (A)

March 2, 2011 / ougnt

เล่นหุ้น แบบ DSM (1)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่าน แนวคิดการเล่นหุ้น แบบ DSM (Desri Method) จาก http://www.thaispeculator.com/category/descending-sell-method … เฮ้ย เข้าท่าดีหวะ แนวคิดแบบนี้ก็เล่นง่ายดี แค่คิดว่า หุ้นคือเครื่องสร้างกระแสเงินสด โดยมี concept ว่า “กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง” แต่อยู่กับมันจนตาย เอ่อ แนวคิดนี้ จะทำให้ปริมาณหุ้นในมือเพิ่มเยอะดี โดยไม่ต้อง เพิ่มตัง ( ดีป่าว อิอิ )

จริงๆแนวคิดนี้มีส่วนเหมือน vi นะ ไม่สิ มันคือ vi สายนึงเลยหละ โดย เริ่มจาก หาหุ้น เทพ ที่อยากเป็นเจ้าของก่อน หุ้นนี้มันต้องไม่กาก (แหงหละ) ต้องมีปันผลสม่ำเสมอ (ดูย้อนหลังเอา) กิจการมันจะอยู่กับเราไปจนตายกันไปข้างนึง หละ

ซื้อแล้วทำไงต่อหละ … ขาย/ถือ/ซื้อเพิ่ม เลือกซักอย่าง … เฮ้ยอย่าเพิ่งด่า มีคำอธิบายต่ออยู่

ตามหลักการ “กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง” ถ้าหุ้นตก ก็ขายเลย แล้วค่อยไปรับคืน งงป่าว ดูตัวอย่างดีกว่า

หุ้น ก. ราคา 10 บาท ซื้อมา 100,000 หุ้น สมมุติ เราใช้สูตร ขาย2ซื้อคืน3 หรือ เมื่อหุ้นลงสองขั้นขาย แล้วไปรับคืนขั้นที่สาม

ถ้ามันตก ขั้นแรก ราคาจะเหลือ 9.95
ขั้นต่อไปก็ 9.90 ตรงนี้ขายเลย 10,000 หุ้น ได้เงิน 99,000 บาท
แล้วไปซื้อคืนที่ 9.85 10,000 หุ้น ก็จะได้หุ้นเท่าเดิม แต่ได้ตังเพิ่ม 500 บาท สะสมไว้ ทำแบบนี้ซัก สองสามรอบ ก็เอาไปซื้อหุ้นเพิ่ม คราวนี้ ก็เหมือนได้หุ้นเพิ่มฟรีๆ

อ่า เห็นข้อนึงยัง วิธีนี้ใช้กับหุ้นนิ่งไม่ได้นะฮาฟ

มันมีอีกหลายสูตรนะ ใช้ต่างโอกาสกัน ช่วงไหนลงแรงก็สูตรนึง ช่วงไหนนิ่งๆ ก็ใช้อีกสูตร ไว้ ลอง แล้วจะมาบอกผลว่า ดีป่าว

February 28, 2011 / ougnt

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 2 (A)

หลังจาก รู้จักไอ้ตัว c ไปแล้ว มาดูกันว่า ที่เหลือมันคือตัวอะไรบ้าง

เริ่มเลยดีกว่า …

a ( Annual Earnings Increases )

หุ้นเทพ ต้องมีกำไร เพิ่มจากปีที่แล้ว อย่างน้อย 25% ไม่งั้น ไม่แหล่ม หุ้นที่คนจะเทใจ มาหนะ มันต้องแรง กำไรโตวันโตคืน เฟ้ย

จะให้โต ทีละ สองสาม เปอร์เซ็น มันกาก ไม่งั้น ก็ลอง ดู ROE ดูก็ได้ ลองดู หุ้นที่พุ่งปรี๊ด มันต้อง ROE เยอะๆ ถ้าไม่เยอะ

ก็อย่าแม้แต่จะเสียเวลาไปมองมัน เหนื่อย ลองคิดดู จะให้เสีย เงิน ไปเดิมพัน กับ บริษัท ที่มันมี ROE น้อยๆ บอกตรงๆ เถอะ

เอาตังไปฝากธนาคารดีกว่า ลงในหุ้นแล้วเสียว

แล้วไม่ใช่ว่าไปเลือกหุ้นที่มัน เพิ่งโต นะเว้ย … มันต้องโต ต่อเนื่อง มาอย่างน้อย สองถึงสาม ปี เฟ้ย เพราะ หุ้นบางตัว

มันอาจโตปีเดียว แล้วหยุด เช่น ฟ้องร้องชนะ แบบนั้น ไม่นับ ( แต่ถ้ามันชนะติดต่อกันมา เป็นสิบปี ก็อนุโลม อิอิ)

แล้วหยุดเลยนะ พวกซื้อหุ้น เพราะ P/E ต่ำ… P/E มันสะท้อน อดีต เว้ย แต่ราคาหุ้นมันสะท้อน อนาคต มันเป็นแค่ตัวเลข

ที่บอกอดีต ตลาดหุ้นหนะเค้า ให้ราคาล่วงหน้า ครึ่งปี แต่ P/E มัน ย้อนหลัง สามเดือน แล้วมันจะทัน มั้ย ยิ่งถ้าหุ้นมันเป็น

วัฏจักร ค่า P/E นี่ เอาไปทิ้ง โถส้วมเลย ไม่ได้บ่งบอกอะไรเลย ดูแนวโน้ม กำไรดีกว่า

มาดูกรณีสมมุติ ดีกว่า จะได้เห็นภาพ

หุ้น ก. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมากำไร 2 บาท P/E = 5

หุ้น ข. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมา 0.5 บาท P/E = 20

ถ้าดูที่ P/E เหมือน หุ้น ก. จะดีกว่า

ลองดูต่อ ปีต่อมา สมมุติว่าราคาเท่าเดิม

หุ้น ก. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมากำไร 2.05 บาท P/E = 4.87

หุ้น ข. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมา 1 บาท P/E = 10

ถ้ามองแต่ P/E ราคาหุ้น ก. แม่ง ยิ่งถูกเข้าไปใหญ่ แต่หุ้น ข. เฉยๆ

มา ดู ปีต่อมา

หุ้น ก. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมากำไร 2.1 บาท P/E = 4.76

หุ้น ข. ราคา 10 บาท กำไรปีที่ผ่านมา 2 บาท P/E = 5

เริ่มละ ตอนนี้ P/E เท่ากันแล้ว แต่ถ้าจะให้เลือกว่า อยากซื้อหุ้นตัวไหน

ตอนนี้มีใครอยากได้ หุ้น ก. มั้ย

เฮ้ย ตลาดก็เหมือนกันหละ คนอื่นมัน ก็อยากได้หุ้นโตเร็วๆ หุ้น ก. มันโต ช้าไม่ทันกิน

แต่ในสถานะการจริง ราคา หุ้นมันจะไม่ถูก ตอก อยู่ที่ 10 บาท หนะสิ

ลองถามตัวเองดูว่า อยากได้หุ้นตัวไหนมากกว่ากัน (สมมุติว่า อย่างอื่นนอกจากกำไรเหมือนกัน)

… คนอื่น ก็ต้องตอบเหมือนพวกเราหละ ใช่ป่ะ แล้วตัวไหนราคาจะขึ้นหละ คิดเองนะ ไม่อยากชี้นำ

(ชี้ไปเยอะแล้วเมื่อยนิ้ว)

อย่างที่บอก มันต้องโต อย่างน้อย 25% นะ ถ้าไม่อยาก กินปันผล ไปเรื่อยๆ ลองดู ดีๆ หุ้นหลายๆ ตัวในตลาด

มันแม่ง ปันผลมากกว่า ธนาคารนิดเดียว ถ้ามันโตเร็วก็ดีไป แต่ถ้ากำไรมันนิ่งเรื่อยๆ ก็อย่างที่บอก เอาเงินไป

ฝากธนาคารดีกว่า ไม่คุ้มเสี่ยง +เสียวหรอก แต่ถ้าใครรักที่จะเสียว อันนี้ คงห้ามไม่ได้

-ougnt-

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 1 (C)

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 3 (N)

February 25, 2011 / ougnt

ทำไมต้องขายหุ้น ตัดขาดทุน

เคยอ่าน เรื่องการขายหุ้นตัดขาดทุนนะ ว่าทำไมต้องตัด ยอมรับว่าเมื่อก่อน ชอบคิดว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุนเฟ้ย 555
แต่พออ่าน เรื่องนี้ไปเท่านั้นหละ . . . อึ้ง . . . ทึ่ง . . . เสียว เลยทีเดียว
อยากลองเสียว บ้างเปล่า มาเสียวกันโลด (อ่านนะ อย่าคิดลึก)

ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 5% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 5.26% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 6% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 6.38% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 7% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 7.53% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 8% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 8.70% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 9% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 9.89% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 10% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 11.11% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 20% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 25.00% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 30% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 42.85% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 40% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 66.67% เพื่อให้ เท่าทุน
ถ้าเรา ขาดทุน ครั้งนี้ 50% แปลว่า การลงทุนครั้งต่อไป เราต้อง ทำให้ได้กำไร 100.00% เพื่อให้ เท่าทุน

เห็นอย่างนี้ แล้วจะดอง หุ้น ขาดทุนทำไมครับ พี่น้อง เดี๋ยวนี้ต้องกระชับพื้นที่ ตั้ง แต่ ตอนยังขาดทุน 7-9 %
ไม่อย่างงั้น เดี๋ยวได้ร้องกรี๊ด ตอนมันลง 50%

อ้าว… แล้ว ถ้า แม่ มันเด้ง หละ ไม่ขายหมู หรอ

ตอบได้ว่า มึงจะขายหมู หรือว่า มึง จะปล่อยให้หมูที่เลี้ยงตาย วะ
เวลามันจะลง ลง จริงนะเว้ยเฮ้ย

ถ้ามันขึ้นก็ปล่อยให้ แม่มันขึ้นไป คิดว่า ซื้อประกัน ว่ายังไง ก็คงไม่วอดวาย

หลายคนทำไมชอบจัง ล๊อกกำไร แต่พอ หุ้นร่วงมา ไม่ยอม ล๊อกขาดทุน แบบนี้ มันก็ ขาดทุน แบบ บุฟเฟ่ เลยสิ (ไม่ใช่บัฟเฟต นะ อย่าอ่านผิด) แต่เปลี่ยนจาก all you can eat เป็น all you can loss

๕๕๕๕ เคยเห็นป่าว หุ้นที่ลง ถล่ม หายไปในเวลาไม่กี่วัน พวกนี้ เวลาผิดมันต้องยอมรับเว้ย ไม่ใช่หลอกตัวเอง
ว่าเดี๋ยวมันก็ขึ้น คิดแบบนั้นแม่งก็เจ๊งสิวะ

-ougnt-

February 20, 2011 / ougnt

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 1 (C)

คุณเคยรู้สึกมั้ยว่า ทุกวันนี้ คุณรู้สึกอึดอัด ในการเลือกซื้อ หุ้น ไม่ว่าคุณจะ อ่านบทวิแคะห์จากโบรค เจ้า ไหน ไม่ว่าคุณจะดูรายการ จาก ทีวีช่องการเงิน คุณก็ยังรู้สึกว่า คุณอึดอัด เกินกว่าที่จะซื้อหุ้น อย่างสบายใจ นั่นเป็นเพราะว่าคุณ อ้วนเกินไปนั่น เองงงงงงงง ( เกี่ยวอะไรวะ )

แต่ตอนนี้คุณสบายใจได้ เพราะ เราจะเสนอ วิธีการเลือกซื้อหุ้น ที่เรียกว่า can slim ( แปลว่าผอมได้ )

ได้มีการวิจัยหุ้นที่พุ่งทะยาน ทะลวงราคา แบบ ปริ๊ดๆ มาแล้วว่า ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ 7 ข้อ ดังนี้

can slim วันนี้เราจะเสนอ ตัวแรก

C : Current Big or Accelerting Quartery Earnings and Sales per Share

กำไร, หุ้นที่เป็นหุ้นผู้ชนะ หรือหุ้นที่ เพิ่มราคาของตัวมันได้อย่าง รวดเร็วนั้น ต้องมีการเจริญเติบโตในส่วนของกำไร มากๆๆๆๆ อย่าง น้อยๆ ต้องเพิ่มจากไตรมาส ที่แล้ว อย่างน้อย 40%

แต้ต้องระวัง เพราะบางกิจการ มีกำไร แต่ละไตรมาสไม่เท่ากัน หุ้นบางตัวต้นปี กำไรชิปหาย ปลายปีกำไรหายหมด… อ้าว แล้วแบบนี้จะดูยังไงหละ… ถ้าเทียบตรงๆไม่ได้ งั้นก็เทียบอ้อมๆ ดูเลยว่าปีที่แล้วกับปีที่ผ่านๆ มา เป็นยังไง แล้วปีนี้โตกว่า ในอัตรา 40% เปล่า ถ้าใช่ ก็มีแนวโน้มได้ C ตัวนี้ไปเลย ( ไม่ใช่เกรดนะ )

การมองตัว C นั้นต้องระวังกับดักด้วย เพราะหุ้นบางตัวมันสับขา หลอก กำไรที่พุ่งแรงๆบางที มันเกิดจาก การชนะคดี หรือการขายทรัพย์สิน ซึ่งมันจะเกิดได้ ไม่บ่อยหรอก หรือถ้าจะให้พูด ในอีกคำนึง พูดได้ว่า กำไรที่เพิ่มขึ้นนี้ ถ้าจะให้ได้ C จำเป็นต้องเป็นกำไร ที่คงทนถาวร

นอกจากนั้นแล้ว อีกอย่างที่ต้องการดูคืออัตราการโตของกำไร

เอ้า ลองเขียนตารางดู ว่ากำไร ของไตรมาสนี้โตกี่ % ของการโตไตรมาสที่แล้ว อ่ืม ยากจัง เอาตัวอย่างไปดูดีกว่า

มีหุ้นอยู่สองตัว หุ้น ก. กับ หุ้น ข.

ไตรมาสแรด เอ้ย ไตรมาสแรก หุ้น ก. กำไร 100 บาท หุ้น ข. กำไร 100 บาท

ไตรฯ สอง ก. กำไร 120 บาท ข. กำไร 110 บาท แปลว่า ก. กำไรโต 20% ข. กำไรโต 10% จากไตรฯ แรก

ไตรฯสาม ก. กำไร 140 บาท ข. กำไร 125 บาท . . . ถ้าเทียบกับไตรฯสอง ก.โต 16.6% ข. โต 13.6%

ไตรฯสาม ก. กำไร 155 บาท ข.กำไร 145 บาท ก.โต 10.7% ข. โต 16%

จะเห็นได้ว่า ก. กำไรเพิ่มมากกว่า แต่อัตราการเพิ่มของ กำไรกำลัง ลดลงเรื่อยๆ ส่วน ข. ถึงกำไรจะไม่ได้มากเท่า ก. แต่อัตราการเพิ่มของกำไร เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ลองคิดเล่นๆ นะว่า ถ้าเป็นแบบนี้อีกสองปี หุ้นตัวไหน จะมี C ใหญ่กว่ากัน  ^_^

– ougnt –

การเลือกซื้อหุ้นโดยวิถี CAN SLIM ตอนที่ 2 (A)